วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556



แกงโฮะ















คำว่า “ โฮะ ” แปลว่า รวม 
แกงโฮะ ก็คือการนำเอาอาหารหลาย ๆ อย่าง มารวมกัน เช่นเดียวกับ “ จับฉ่าย ” ของจีนในสมัยก่อน แกงโฮะ มักจะทำจากอาหารที่เหลือ หลายๆ อย่างนำมารวมกัน โดยมีการ ปรุงรส แต่งกลิ่น ใหม่อีกครั้ง แต่ในปัจจุบัน นิยมใช้ของสดปรุงขึ้นมา หรือ นำเอาอาหารใหม่มาทำก็ได้
นื่องจากในเทศกาลสำคัญทางศาสนา เช่น เข้าพรรษา ออกพรรษา สงกรานต์ จะมีชาวบ้านนำอาหารมาถวายพระ เป็นจำนวนมาก
พระ และเณร จึงฉันไม่หมด ในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีตู้เย็น ครั้นจะปล่อยทิ้งไว้ก็อาจบูด เน่า เสียหาย เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง 
เพราะอาหารส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านนำมาถวาย ล้วนถือว่า เป็นอาหารอย่างดี เช่น ห่อนึ่ง หมูปิ้ง หมูทอด แกงอ่อม แกงฮังเล ลาบ แคบหมู และอาจมีแกงประเภทใส่กะทิบ้าง เป็นต้น 
ลูกวัดจึงนำเอาอาหารที่เหลือเหล่านี้มา ” โฮะ ” คือรวมกัน อาจมีการเติมน้ำ แล้วเทน้ำออก เพื่อล้างความบูดออกบ้าง จากนั้น ก็นำขึ้นตั้งไฟ หรือ ผัดในน้ำมัน เติมเกลือ น้ำปลา พริกสด หรือพริกขี้หนู ปรุงรสตามชอบ และอาจเติมบางอย่างลงไปเพิ่มอีก เช่น วุ้นเส้น หน่อไม้ และแต่งกลิ่น โดยใส่ใบมะกรูด ตะไคร้ บ้างก็เติม ผงกะหรี่ เพื่อให้กลบกลิ่นบูดหากเป็นการปรุงใหม่ คือเป็นการตั้งใจทำแกงโฮะขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ มิได้นำของเหลือใดๆ มาทำ จะใช้เนื้อหมูติดมัน และผักต่าง ๆ เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักตำลึง หน่อไม้ดอง วุ้นเส้น มะเขือ ใบมะกรูด แกงโฮะที่เหลือบางส่วน จะถูกนำไปกรอกใส่ในกระบอกไม้ไผ่บ้าง น้ำต้น ( คนโฑ )บ้าง ปิดปากให้แน่น แล้วนำไปฝังดิน หรือเก็บไว้ในที่ ๆ ปลอดภัย อาจเก็บไว้ได้นานหลายเดือน ยามขาดแคลนอาหาร สามารถนำเอามาอุ่นรับประทานได้ ถือเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณล้านนา ในการถนอมอาหาร ที่น่าทึ่งอีกเรื่องหนึ่ง











อ้างอิง แกงโฮะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น