วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556


ประเพณีผีนางด้ง ประเพณีภาคอีสาน




ลักษณะความเชื่อ

ชาวนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม วิถีชีวิตต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ หากปีใดฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเกษตรกรก็จะได้รับความเดือดร้อนลำบาก จึงจำเป็นต้องพึ่งพาอ้อนวอนร้องขอต่อเทพยดาสิ่งที่ตนเคารพ เชื่อถือ เรียกว่าทำพิธีขอฝน หากปีใดฝนแล้ง ชาวบ้านจะมาปรึกษากันว่าควรประกอบพิธีขอฝนด้วยวิธีใด เช่น การแห่นางแมว การเล่นนางด้งการเล่นนางข้อง การเล่นนางควาย หรือการเล่นนางสุ่ม เป็นต้น

ความสำคัญ
การเล่นนางด้ง เป็นพิธีการขอฝนพิธีหนึ่งของชาวนครไทย ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้
พิธีกรรม
๑. เมื่อชาวบ้านตกลงกันว่าจะทำพิธีขอฝนด้วยการเล่นนางด้งแล้วจะแบ่งหน้าที่กันดังนี้
กลุ่มที่ ๑ จัดหาอุปกรณ์ในการเล่นนางด้ง คือ กระด้งฝัดข้าว ๑ ใบ พร้อมอุปกรณ์ในการเชิญผีนางด้ง มีหมาก พลู ดอกไม้ ธูป เทียน น้ำ แป้งหอม
กลุ่มที่ ๒ จัดเตรียมด้านสถานที่ที่จะทำพิธีขอฝน
กลุ่มที่ ๓ ไปแจ้งให้ชาวบ้านทุก ๆ หมู่บ้านทราบโดยทั่วถึงกัน และให้มาร่วมพิธี
๒. ครั้นถึงกำหนดวันประกอบพิธีกรรม เจ้าพิธีหรือคนทรง ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่เคยทำพิธีมาก่อน (แต่ละหมู่บ้านจะมีเจ้าพิธีหรือคนทรงเพียงคนเดียวหรือสองคนเท่านั้น) จะเริ่มพิธีเชิญขวัญและร้องขวัญอัญเชิญเทวดาดังนี้เทวดาองค์ใดศักดิ์สิทธิ์ ให้เนรมิตรลงมาขอเชิญน้องข้า เจ้าคนทรงเอยเข้าตัวน้องข้า 
เจ้าคนทรงเอย
๓. หลังจากอัญเชิญเทวดาแล้ว ชาวบ้านที่มาร่วมพิธีขอฝนจะช่วยกันร้องเพลงนางด้ง เพื่อให้ผีนางด้งมาเข้าสิงที่กระด้ง ซึ่งเจ้าพิธีหรือคนทรงเป็นคนจับกระด้ง เมื่อนางด้งเข้าสิงในร่างคนทรงแล้ว กระด้งจะสั่นและพากระด้งร่อนไปเรื่อย ๆ บางทีจะมีการเสี่ยงทาย โดยมีผู้นำภาชนะตักน้ำไปซ่อนไว้ไม่ไกลจากบริเวณประกอบพิธี ถ้านางด้งที่เข้าคนทรงหาภาชนะตักน้ำที่ซ่อนนั้นพบ เชื่อกันว่าปีนั้นฝนจะตกต้องตามฤดูกาลหรือบริบูรณ์ดี บางทีก็เสี่ยงทายว่า ถ้าฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล ขอให้นางด้งฝัดข้าว ซึ่งถ้า
คนทรงออกมารำฝัดข้าวอย่างสวยงาม แสดงว่าปีนั้นฝนจะดีด้วย






อ้างอิง ประเพณีผีนางด้ง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น